ทั่วไป

ประสบการณ์ สำคัญกว่าความรู้

นิสิตเศรษฐศาสตร์ ดร็อปเรียน International Trade ไปทำงานส่งออกข้าวไปไนจีเรีย ได้มูลค่าหลายร้อยล้าน โดยอาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา
ชีวิตจริงมีมากกว่าในห้องเรียน
นิสิตหายไปจากชั้นวิชาวางแผนสองอาทิตย์ บอกว่าต้องไปอบรมลูกทีมขายประกัน AIA 5-6 คน เธออยู่ปี 3 มีรายได้เดือนละ 5 หมื่น วางแผนจะเพิ่มลูกทีมไปเป็นร้อยจะมีรายได้เดือนละหลายแสน
นี่คือสุดยอดการวางแผนในชีวิตจริง ลงมือทำเองด้วย
บางคนไปสอนพิเศษเป็นเดือน บอกว่าเป็นการสร้างฐานจะสร้างโรงเรียนกวดวิชาชั้นแนวหน้า แล้วเขาก็ทำได้จริงๆ
นี่คือโรงเรียนกวดวิชาคณิตศาสตร์ อาจารย์ อรรณพ
ในบางวิชา บอกให้ไปทำแผนมา ได้แผนธุรกิจเล่มใหญ่มาก แบบมืออาชีพ ปัจจุบันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้วหลายราย นี่คือเตรียมการกันมาตั้งแต่เรียนแล้ว รายงานของครอบครัว เป็นแนวธุรกิจครอบครัว ยังไม่รวมอีกหลายๆกิจการ
ยุคนั้น นิสิตได้ A ไปเยอะมาก นั่งสัมมนากับนิสิตจริงๆ จะรู้ว่าอาจารย์ไม่รู้อะไรในโลกอาชีพต่างๆมากมาย ยิ่งสอนยิ่งรู้ว่าอาจารย์ไม่เก่ง
ก็เรียนรู้จากนิสิตไปเรื่อยๆ
บางปีเห็นชื่อพ่อ แม่นิสิตแล้ว อาจารย์อยากให้มาสอนแทน น่าคิดว่า อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ต้องเรียนรู้อีกมากจากนอกห้องเรียน

ในโลกที่มีอาชีพ ความรู้ประสบการณ์ต่างๆนับไม่ถ้วน ใครจะรู้อะไรมากมายขนาดนั้น

โดยสรุป : หลักสูตรของมหาวิทยาลัยกับเรื่องที่ต้องใช้จริงมันคนละเรื่องกัน

นักเรียนสวนกุหลาบในสวนบอร์ด ถามว่า เขาอยากจะเป็นผู้ส่งออกข้าว ยาง ค้าชายแดน ค้าอาวุธ ตั้งปั๊มน้ำมัน ค้าเพชร ค้าทอง จะไปเรียนคณะไหนดี
ตอนนี้ส่งออกลำบาก เพราะขาดคนรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่ มือผสมข้าวชั้นเซียนตายไปเมื่อสองปีที่แล้ว จะส่งออกข้าวขายได้กำไร จะขายข้าวในประเทศ ต้องผสมข้าวเป็น
เรื่องพวกนี้ไม่มีอาจารย์ที่ไหนสอนได้
สำหรับระบบการศืกษาไทย ที่สอนๆกันใช้งานจริงไม่ค่อยได้ หากเทียบการเรียนจากครอบครัว ฝืกกับญาติ เรียนเอง
วิชา International Trade ใช้ตำราของนายพอล ครุกแมน เป็นการเรียนระบบ เอาไว้วางนโยบายประเทศ อ่านแล้วขายข้าวไม่ได้ คนเขียนก็ขายไม่เป็น
แต่ถ้าจะเรียนไปค้าขาย แถวฮ่องกง จีน ใต้หวัน เขาเรียกโรงเรียน commerce
ฝรั่งก็มี เค้าจะฝืกให้คนรู้ 3 ภาษา ทริคการค้า การดีลงาน วัฒนธรรม
ที่ฮอลแลนด์ แยกเศรษฐศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก เรียก private economics จะเน้นสอนคนไปทำธุรกิจ ทำงานกับ corporations อย่างเชลล์ น้ำมัน สตาร์ทอัพ เน้นกำไร
70% ของคนที่เรียนเศรษฐศาสตร์มาแนวนี้
อีกส่วนเป็น public economics เศรษฐศาสตร์เพื่อส่วนรวมแบบไทย เน้นจริยธรรม

คนที่จะเป็นพ่อค้า มาเรียน public economics มาเรียนแล้วจะมืน บางคนบอกว่าดีเหมือนกัน รู้ว่าภาครัฐคิดอะไร จะได้ปรับตัวทัน

การเรียนมหาวิทยาลัยมีค่าเสียโอกาส เรียนบางอย่าง แต่จะไม่ได้เรียนอีกหลายอย่าง
คนจบ ม 6 ที่สร้างธุรกิจใหญ่โตมีพอสมควร บางคนบอกว่า ไม่เรียนมหาวิทยาลัยดีตรงที่ไม่มีอะไรค้ำคอ ไม่มีศักดื์ศรี ค้าขายสบาย ไหว้คนไปทั่ว ศักดิ์ศรีเยอะก็ไม่ดี รู้อะไรที่ไม่ต้องใช้เยอะก็รกหัว เสียเวลาตั้งหลายปี เรียนพฤติกรรมคนจากการค้าก็เหมือนเข้ามหาวิทยาลัยน่ะแหละ
สองคนนี้เป็นนักเรียนห้องคิง คนหนื่งมีธุรกิจขนาด 11 หลัก อีกคนขายลูกอมไปสามสิบกว่าประเทศ หลายพันล้านต่อปี คนแรกขายของให้ราชการ แล้วเข้าเทคบริษัทในตลาด
เจ้าสัวในประเทศก็มาแนวนี้เยอะ จากสำเพ็ง เยาวราช วังบูรพา ทรงวาด จะทำอะไรก็จ้างคนจบมหาวิทยาลัยไปเป็นลูกน้อง
เจ้าสัวท่านนึง เดิมยืนขายปากกาในห้างที่วังบูรพา ในอดีตผมไปซื้อปากกามาใช้ ยังนืกในใจว่าคนขายคนนี้ ดูไม่ธรรมดามากๆ
เจ้าสัวอีกท่าน เดิมก็เลี้ยงไก่ แถวเยาวราช รับใข่มาฟัก เลี้ยงลูกเจี๊ยบกันทั้งย่าน แล้วเอาไปขายคืน
ยกเว้นการค้าเทคโนโลยี่ที่ต้องเรียนวิศวะ วิทยาศาสตร์แต่เพื่อนผมบางคนก็ไม่เคยเรียนครับ เรียนอย่างอื่น
คนรู้จัก ไปทำงานที่โรงงานปูน ตัวทำเงินจริง เพราะเป็นคนผสมปูนเอาไปขายให้โครงการต่างๆ ไม่ใช่ฝีมือ SCG คนขับรถพลานท์ปูนนี่ มีรายได้จากส่วนแบ่งกำไรถ้าจำไม่ผิด

หลายคนคิดเยอะและเก่งมากตั้งแต่ยังเป็นนิสิต

สุดท้าย นึกถึงเด็กฝรั่งในหลายประเทศ เขาบอกว่า จบม 6 จากโรงเรียนดังของเขาแล้ว จะไปเลี้ยงแกะ
เพราะจะได้เป็นประธานสหกรณ์การเกษตร แล้วเป็นรัฐมนตรี
อีกคนบอกว่า จะไปขับรถบรรทุก ส่งสินค้าไปทั่วประเทศ เพราะจะทำธุรกิจขายสินค้ากระจายสินค้าไปทั่วออสเตรเลีย มีแผนธุรกิจชัดเจน
ผมขำว่าเค้าคิดต่างจากเมืองไทยเยอะนะครับ

แต่ถ้าไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่มีฐานครอบครัว ก็เข้ามหาวิทยาลัยไปก่อนเพื่อศึกษาความรู้

บัณทิตส่วนใหญ่ตั้งใจจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง หรือต้องทำยังงั้น เพราะคนที่จะได้เป็นข้าราชการมี 3% เอง ถ้ามาทำธุรกิจตั้งแต่ตอนนี้ มันต่างกันตรงไหน
ยุคนี้เด็ก ม เอกชนที่เรียนไปด้วย ทำธุรกิจตัวเองไปด้วยมีเยอะครับ
ล่าสุด เด็กสวนกุหลาบคนหนื่ง เคยผ่านค่ายโอลิมปิก เรียนมหาวิทยาลัยได้หนึ่งปี ลาออกไปเข้าทีมนักขายของ Uniliver ไปแล้ว บริษัทนี้คือบริษัทที่บัณทิตที่ต้องการเป็นนักขายอยากเข้ากันมาก จบปริญญาโทก็เข้าไม่ได้เยอะไป ตอนนี้ดูภูมิฐาน
อีกคนหนื่ง จบ BBA แต่ได้เรียนรู้จากมืออาชีพ อายุราว 24 ตอนนี้ผมเป็นแฟนคลับของเขา ได้ข่าวว่าเรียน CFA อยู่ด้วย ระดับแชมป์ SET คือ เรียนแล้วขอให้รู้จริง ทำเป็น คิดเป็น เพื่อนฝูงเรียกเสี่ยกันแล้วเนี่ย
เถ้าแก่น้อย จากสวนกุหลาบ นนทบุรี ก็อีกคน วิชาทำสาหร่ายทอด ไม่มีใครสอนหรอก จบfood science ก็ทำไม่เป็น ต้องลองทอดเอง ขายเข้าตลาดจีน อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
บางคนเป็นเจ้าของสายการบิน ให้ชื่อเครื่องบินว่า Suankularb ยุคนี้ทำเครื่องบินโรงเรียนกันแล้ว รถโรงเรียนหลีกไป
ยุคนี้เชี่ยวชาญอะไรสักอย่างหนื่งให้อยู่ระดับ top tenในหนื่งอาชีพก็เกินพอ อาชีพมีตั้ง 500000 อาชีพในโลก

แต่ถ้าไม่มีลู่ทางที่ชัดเจนก็เรียนให้จบนะครับ

ข่าวนิสิตขอดรอปเรียน International Trade ไปทำงานส่งออกข้าวไปไนจีเรีย
………..
หลายๆคน ไม่ได้เข้าเรียนประจำ ไปเรียนรู้เรื่องอื่น ประสบความสำเร็จกันมากมาย ก็เข้าใจดีมากว่าชีวิตจริงเป็นอย่างไร

แต่ต้องมี passion

ขอขอบคุณบทความดีๆจากอาจารย์สมเกียรติ
บทความนี้เขียนเมื่อ7 ปีที่แล้วโดยอาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.